14727 จำนวนผู้เข้าชม |
แบบที่ 1
เบี้ยประกันชีวิตแบบทั่วไป ใช้ลดหย่อนภาษีเต็มสิทธิ์ 100,000 บาทแล้ว แต่เบี้ยประกันบำนาญ (แบบลดหย่อนภาษีได้) ใช้ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 200,000 บาท และไม่เกิน 15% ของเงินได้ซึ่งต้องเสียภาษี ซึ่งเงินก้อนนี้เมื่อนำไปรวมกับเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน และกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) รวมกันต้องไม่เกิน 500,000 บาท
แบบที่ 2
คือว่า ถ้าใครที่ยังไม่มีประกันชีวิตแบบทั่วไป สามารถนำเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญไปหักลดหย่อนแทนเบี้ยประกันชีวิต ก็แปลว่าเราจะสามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้สูงสุดถึง 300,000 บาท ทำให้เราเสียภาษีน้อยลง หรืออาจจะได้เงินคืนภาษีกลับมา
แบบที่ 3
ถ้าใครมีประกันชีวิตแบบทั่วไปแล้ว แต่ยังไม่เต็ม 100,000 บาทแรก สามารถใช้เบี้ยประกันบำนาญไปลดหย่อนในส่วนของโควต้าเบี้ยประกันชีวิตแบบทั่วไปได้ เมื่อลดหย่อนประกันชีวิตทั่วไปครบ 100,000 บาทแล้ว ยังสามารถลดหย่อนประกันบำนาญได้สูงสุดอีก 200,000 บาท
พิเศษ :
กรณีมีคู่สมรส และทั้งคู่เป็นผู้ชำระเบี้ยสามารถแยกยื่นภาษีในส่วนของเบี้ยประกันชีวิตของประกันแบบบำนาญ เพื่อใช้สิทธิลดหย่อนในส่วนของตนเองได้ สูงสุดคนละ 200,000 บาท
ดังนั้น การทำประกันชีวิตแบบบำนาญ จะทำให้เราได้ผลประโยชน์ถึง 2 เด้ง ก็คือ เราจะได้ผลตอบแทนเป็นเงินบำนาญหลังเกษียณ ต่อที่สอง คือเราได้ผลตอบแทนในรูปของรายจ่ายภาษีที่ลดลงหรือเงินคืนภาษี เท่ากับว่า เบี้ยประกันที่เราจ่ายไป ไม่ได้หายไปไหน แต่เป็นเงินออมที่เราจะได้เอาไว้ใช้หลังเกษียณ พร้อมทั้งช่วยให้เราเสียภาษีน้อยลงอย่างถูกต้องอีกด้ว
เงื่อนไขพิเศษของประกันบำนาญ?
1. ต้องเป็นแบบประกันที่มีระยะเวลาคุ้มครองเกิน 10 ปีขึ้นไป
2. การจ่ายเงินผลประโยชน์คืนทุกปี ตั้งแต่ตอนอายุไม่ต่ำกว่า 55 ปี หลังจากจ่ายเบี้ยประกันครบตามระยะเวลาที่กำหนดแล้ว
3. ต้องจ่ายเบี้ยประกันครบก่อนได้รับผลประโยชน์
4. กำหนดช่วงอายุของการจ่ายผลประโยชน์เงินบำนาญเมื่อมีอายุตั้งแต่ 55-85 ปี หรือมากกว่านั้น
5. ต้องทำประกันกับบริษัทประกันชีวิตที่ประกอบกิจการในประเทศไทยเท่านั้น
หากใครสนใจข้อมูลเพิ่มเติมหรือต้องการให้คำนวณเบี้ยเฉพาะของตัวเอง ก็สามารถติดต่อโดยแจ้งเพียงอายุและเพศได้ทาง Line@ ของ วางแผน.com ด้านล่างนี้ค่ะ
เขียนโดย ณภัชชา พงศ์วัฒนกิจกุล ที่ปรึกษาการเงิน AFPT™
หากใครมีข้อสงสัย ต้องการสอบถามหรือปรึกษาเพิ่มเติม
ติดต่อ และ ติดตามอัพเดตเรื่องน่ารู้ทางการเงินกับพี่แผน ได้ทาง
วางแผน.com (wangpaan.com)
Line: @Wangpaan
Facebook: Wangpaan
Twitter: @Wangpaan
Youtube: Wangpaan
อย่าลืมกด Like, Follow และ Subscript จะได้ไม่พลาดข่าวสารสำคัญจากพี่แผนนะครับ